Last updated: 25 ส.ค. 2564 | 901 จำนวนผู้เข้าชม |
เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้การเสพข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้นแค่เพียงปลายนิ้วจากสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ขณะที่ "โซเชียลมีเดีย" เข้ามามีบทบาทอย่างมากจนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ คนจึงหันมาบริโภคข่าวสารผ่านทางโซเชียลมีเดียแทน เพราะเข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็วกว่า
ขณะที่ ในสื่อโซเชียลมีเดียมีคนจำนวนไม่น้อย สามารถนำเสนอเรื่องราว ข่าวสาร สาระความรู้ ข้อคิดเห็น รีวิวการขายสินค้าต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัว การเป็นคนในพื้นที่ จากคำบอกเล่าของคนใกล้ชิด และสถานการณ์โควิดที่ยังระบาดอยู่ตอนนี้ โดยประชาชน ในโซเชียลมีเดียให้ความสนใจและคอยติดตาม เนื่องจากการนำเสนอที่ใกล้ชิด รวดเร็ว การใช้ภาษาเร้าอารมณ์ หรือการใช้คำโน้มน้าวให้เชื่อถือ ในสิ่งนั้น
แต่เมื่อใคร หรือผู้ประกอบการใดๆ ก็ตามสามารถเสนอเรื่องราว และขายผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้บางเรื่อง และบางผลิตภัณฑ์นั้นยังไม่ถูกกลั่นกรองหรือตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน หรือมีผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวปลอมขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์ใดๆ ก็ตาม ผู้อ่านที่ไม่มีข้อมูลในเรื่องนั้นๆ อาจจะหลงเชื่อและเข้าใจผิดจนเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และกระทบต่อสังคมในเรื่องต่างๆ ขึ้นมาได้
ยกตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่โควิด-19 กำลังระบาดหนักแบบนี้ไปทุกพื้นที่ของประเทศไทย การรับวัคซีนที่ยังไม่ถึงประชาชนทุกคน ทุกคนก็ต้องแสวงหาพืชสมุนไพรที่สามารถรักษาโควิดได้ ดังเช่นฟ้าทลายโจร
ที่มีประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564 ประกาศเพิ่มยาสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร และยาจากผงฟ้าทะลายโจร เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อย ประชาชนก็ตื่นตระหนกซื้อกักตุนกันไว้จนยาขาดตลาด จนทำให้เกิดทำให้เกิดช่องว่างของผู้ประกอบการบางรายที่ขายยาปลอมในโลกโซเซียล จนต้องมีหน่วยงานและองค์กร เครือข่าย ที่ดูแลเรื่องนี้ออกมากำกับดูแล และหาข้อมูลความจริงมาเผยแพร่ เช่น
กรณีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร ตราอินทารา ซึ่งแสดงสรรพคุณผลิตภัณฑ์ตามประเด็นข้างต้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบและยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ปลอม เลขสารบบอาหาร 63-1-17262-5-0005 ได้รับอนุญาตชื่อ อินทรา-015 ส่วนประกอบ คือ ไคโตซาน ถั่วขาว ส้มแขก และบุก ซึ่งไม่มีฟ้าทะลายโจรเป็นส่วนประกอบแต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3ln7wWS
“ยุคที่ข้อมูลข่าวสารอยู่ใกล้มือ และแพร่กระจายได้รวดเร็ว จนทำให้ "ข่าวปลอม" (Fake News) แพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น ถึงเวลาหรือยังที่ "คนไทย" จะรู้เท่าทันสื่อ เพื่อไม่ให้ตกหลุมพรางนั้น”
ถ้าพบเห็นข่าวปลอม หรือเรื่องที่ไม่น่าจะใส่ความจริง ก็ให้ทุกคน อย่ากด LIKE ไม่ SHARE ไม่ FOLLOW กด REPORT ปิด
เมื่อพบเห็นการโฆษณาที่คิดว่าผิด ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ แจ้งข้อมูลได้ที่ สายด่วนอย. 1556 หรือส่งเรื่องได้ที่ 1556@fda.moph.go.th.
25 เม.ย 2564
30 พ.ย. 2564
19 ต.ค. 2564
1 เม.ย 2564